#ต่อเนื่องจากบทความเมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว
ครูโรสครูแอนยังคงสนใจและชื่นชมผลงานของนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
และยังคงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ EF
ครูชอบคำหนึ่ง ที่คุณหมอบอกว่า
"#เด็กต้องเล่น"
คำว่าเด็กต้องเล่นมาพร้อมกับข่าวคราวในระยะนี้ว่า
เด็กเล็กในกรุงเทพถึงขั้นต้องเข้าคอร์สนั่งติวหนังสือ
เพื่อที่จะได้สอบเข้าโรงเรียนอนุบาลดังๆให้ได้
อนุบาลนะคะ ไม่ใช่ประถม มัธยม
และข่าวที่ตามมาคือภาวะเครียดหนักในเด็กเล็ก
ถึงอย่างไรครูก็ยังสนับสนุนการสร้างความพร้อมที่ต้นเหตุมากกว่า
มากกว่ายัดเยียดอะไรที่ไม่สมวัยให้ลูก
ประเทศฟินเเลนด์ เขาให้เด็กเล่น อยู่บ้าน จนถึงเจ็ดขวบ
แล้วค่อยเข้าโรงเรียน
เด็กฟินแลนด์ทำคะเเนนติดอันดับต้นในเรื่องการอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
คงเพราะเตรียมความพร้อมของสมองเป็นอย่างดี
การเล่นมีประโยชน์ต่อพัฒนาการของสมอง
ได้ฝึกทุกอย่างที่ควรฝึกรวมทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็ก
การเล่นทุกชนิดใช้นิ้วมือ ซึ่งก็คือการเรียนรู้
เป็นการเรียนรู้ที่ดีสำหรับเด็ก
การใช้นิ้วมือทั้งสิบนิ้ว ทำให้สมองมีการพัฒนา
สมองมนุษย์พัฒนามากกว่าสัตว์อื่นก็เพราะได้ฝึกใช้มือ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เหตุผล คิดวิเคราะห์
ประมวลผล และยับยั้งชั่งใจ
เมื่อเด็กๆฝึกใช้มือด้วยการเล่นต่างๆนานา
จึงทำให้มีความคล่องแคล่วในการใช้มือ
จึงคิดวิเคราะห์เก่ง มีเหตุมีผล
เมื่อสมองส่วนหน้าอันเป็นต้นเหตุได้รับการพัฒนาอย่างดี
จึงเป็นรากฐานสำคัญให้แก่ EF
การใช้นิ้วมือสิบนิ้วเล่นหรือทำงาน เช่นทำงานบ้าน
เราไม่ได้ต้องการบ้านสะอาดหรือเล่นกันงูๆปลาๆไม่มีจุดหมาย
แต่เพราะมันมีเป้าหมายที่ต้นเหตุคือสมอง
ที่การใช้มือหรือสิบนิ้วเล่นหรือทำงานบ้าน
จะทำให้เซลส์ประสาทและเส้นประสาท
สร้างวงจรประสาทที่เข้มข้นและมีประสิทธิภาพที่สมองส่วนหน้า
ทำให้เกิดความจำใช้งานที่ดี
ความจำใช้งานเกิดพร้อมการควบคุมยับยั้ง
ซึ่งสองข้อนี้เป็นคุณสมบัติของ EF
และนี่คือที่มาว่า ทำไมเด็กทารกถึงเจ็ดขวบจึงต้องเล่น
ถ้าสนใจอยากศึกษาเรื่อง EF ให้อ่านบทความก่อนหน้านี้นะคะ
และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ EF จากงานของคุณหมอ
แต่ถ้าเหนื่อยมาก ไม่มีเวลา
#ให้จำคำง่ายๆคำนี้ไว้ว่า
#เด็กต้องเล่น
cr.คุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์