มีลูกศิษย์คนหนึ่งถูกเลี้ยงและเติบโตมาในคอนโดมิเนียม
เรารู้จักกันเพราะน้องมาเรียนว่ายน้ำ
ตอนอายุได้สี่ขวบ
น้องกลัวน้ำมาก
จึงต้องใช้เวลา กว่าจะหายกลัว
คุณแม่เล่าให้ฟังว่า
"เลี้ยงลูกมาผิดทางไปหน่อย
ประคบประหงมมากไป
นี่ทำอะไรเองไม่เป็นเลย
ที่แย่สุดคือคุณแม่ไม่เคยให้เขาได้เดินเล่นกับสนามหญ้าหรือทรายเลย
เขาเลยกลัวหญ้า กลัวทรายค่ะ
แล้วเขาก็ไม่กล้าทำอะไรเอง"
โถ....ลูก
คุณแม่เล่าต่อ
"แต่นี่ยังดีนะคะ
เพื่อนบ้านของคุณแม่
มีลูกชายแปดขวบแล้วนะคะ
แม่เขาไม่ให้กินข้าวเอง
ให้พี่เลี้ยงป้อนตลอดเลย จนโต
กลายเป็นว่า น้องไปโรงเรียน
ก็มีปัญหาเรื่อง ไม่ยอมเคี้ยวข้าวเอง"
คุณแม่คอนเฟิร์มว่าที่เล่ามาคือเรื่องจริง
.......................................................
การเป็นครูมีข้อดีข้อหนึ่งคือ
ทำให้เราพบเจอพ่อแม่
และเด็กๆหลากหลายรูปแบบ
เมื่อรวมกับภาคทฤษฎีที่เรียนมา
ที่สอนให้อ่านลักษณะและพฤติกรรมเด็ก
และอ่านลักษณะพฤติกรรมพ่อแม่
ทำให้รู้ว่า การเลี้ยงลูกแบบไหนที่ดีต่อลูก
การเลี้ยงลูกแบบไหนที่ส่งผลเสียต่อลูก
Dr.Francoise อาจารย์แม่ของครูโรสครูแอนย้ำนักหนาว่า
ความสัมพันธ์แบบ happy and relaxed ดีที่สุด
ถ้าถามว่า
พ่อแม่แบบไหนที่เด็กๆชอบ
และเป็นแบบที่ให้ผลดีต่อการเลี้ยงลูก
คำตอบคือ พ่อแม่แบบที่ให้ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยทั้งทางกายและใจและเป็นพ่อแม่ที่ผ่อนคลาย ไม่เคร่งเครียด (secure and relaxed parents)
อันนี้ดูจากผลลัพธ์การเรียนว่ายน้ำของเด็กๆ
เด็กที่พ่อแม่สบายๆ ไม่ซีเรียสมักว่ายน้ำเป็นเร็วกว่า
ส่วนพ่อแม่อีกแบบคือ
พ่อแม่แบบที่รักลูก
แต่แสดงออกในทางปกป้องมากเกินไป
ประคบประหงมและควบคุมลูกมากเกินไป
ภาษาอังกฤษเรียกว่า Over protective parent
แบบนี้มีผลเสียค่ะ
เราสามารถเป็น Protective parent
แต่เราไม่ควรเป็น Over protective parent
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีสไตล์การเลี้ยงลูกของเรา
เข้าข่าย Over protective parent
กรุณาเลือกตามหัวข้อดังต่อไปนี้
พิจารณาดูว่าเราทำข้อไหนมากไป
1.#ปกป้องให้พ้นจากภัยตลอดเวลา #จนลูกไม่มีโอกาสทำอะไรเอง
อะไรที่ยาก
อะไรที่ดูอันตราย
อะไรที่ดูไม่น่ารื่นรมณ์
พ่อแม่แบบ over protective จะกันลูกออกไป
ไม่แม้แต่จะให้ลูกได้ลองเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ
2.#จู้จี้จุกจิกกับทุกเรื่องในชีวิตลูก
เด็กๆไม่มีอิสระในการทำกิจกรรม
พ่อแม่เข้ามามีส่วนบงการทุกเรื่อง
จนถึงเข้าไปก้าวก่ายเรื่องการเรียนที่โรงเรียน
การจู้จี้จุกจิกทุกเรื่องทำให้เด็กโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่กล้าคิด
ไม่กล้าทำอะไรเอง
3.#ไม่ให้ลูกรับผิดชอบอะไรเลย
ยกตัวอย่าง การตั้งคอนเส็ปต์ว่าลูกมีหน้าที่เรียนอย่างเดียว
ไม่ต้องทำอะไรเลย
ไม่ต้องหัดทำงานบ้าน
ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
ไม่ต้องเหนื่อยกับงานบ้าน
เข้าบ้านมา คนรับใช้ยกน้ำมาให้ลูก
ลูกจะได้โฟกัสกับการเรียนเต็มที่
แบบนี้มีผลแง่ลบ
ส่งผลต่อวิธีการจัดการแก้ปัญหาเรื่องราวในชีวิตเมื่อโตขึ้น
เพราะคุ้นเคยกับการที่คนอื่นทำอะไรให้
4.#ทำให้ทุกอย่าง #เตรียมทุกอย่างให้ #โอ๋ลูกมากไป
พ่อแม่พี่เลี้ยงเตรียมให้ทุกอย่าง
ทุกอย่างมาถึงมือในทันที
ไม่ต้องทำอะไรเลย
อยากได้ก็ได้เลย
ผลออกมาคือลูกรักสบาย
ไม่มีความอดทน
ทำอะไรเองไม่เป็น
เพราะความอดทนและการรู้จักปรับตัวเป็นสิ่งที่ไม่อาจเรียนรู้ได้จาก "การถูกตามใจ"
มีผลการวิจัยบอกว่า
การเผชิญกับความเครียดเล็กๆน้อยๆในช่วงต้นของชีวิต
ช่วยขยายสมองส่วนที่ทำงานเรื่องการรู้จักแก้ปัญหาและปรับตัว
ยกตัวอย่าง
เด็กที่ทำข้อสอบแล้วได้คะแนนออกมาไม่ดี
ได้รับคำปลอบโยนจากพ่อแม่
จะไม่เกืดประโยชน์อะไร
ต้องสอนเพิ่มให้รู้จักความไม่สมหวังด้วย
ว่ามันคือความจริงของชีวิต
และสอนให้รู้จักกลับมาลุกขึ้นสู้ใหม่
5.#ปิดกั้นการเข้าสังคม
เพราะกลัวอิทธิพลไม่ดีจากเพื่อน
เพราะไม่เชื่อมั่นในสไตล์การเลี้ยงลูกของพ่อแม่คนอื่น
จึงปิดกั้นไม่ให้ลูกได้มีสังคม
ลูกจึงไม่เห็นความแตกต่าง
เมื่อไม่เห็นความแตกต่าง
ก็ปรับตัวไม่เป็น
เหมือนเด็กที่ไม่เคยถูกแดดเลย
จึงไม่ชอบแดด
และหงุดหงิดเมื่อเจอความร้อนเป็นต้น
6.#เป็นห่วงเกินไป #ระแวดระวังเกินไป
เมื่อลูกเริ่มเข้าสู่วัยทีน
แม่คอยส่องเฟสบุ๊ค ไอจี ไลน์ตลอดเวลา
คืออาการห่วงเกินไป
จะทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่เช่ื่อใจ
เมื่อมีอะไรขึ้นลูกจะไม่เปิดเผย
ไม่เล่า
เพราะแม่จิกและเข้มงวดมาตลอด
ถ้าอยากให้ลูกเชื่อใจเรา และเปิดเผยต่อเรา
ต้องไม่ส่อง ไม่จิก จนเกินไป
7.#ลูกต้องพึ่งพาพ่อแม่ตลอด #จนลูกพึ่งพาตนเองไม่เป็น
แก้ปญหาทุกอย่างให้ลูก
ลูกไม่ได้คิดเอง
ไม่ได้แก้ปัญหาเอง
ทำให้ลูกรู้สึกต้องพึ่งพาพ่อแม่ตลอดเวลา
........................................................
เราเป็น protective parent นั้นดี
แต่เป็น over protective parent นั้นมีผลเสียแน่นอน
#ปกป้องเขาและปล่อยเขาด้วย
#ทางสายกลางดีที่สุด
อ่านรายละเอียดเพิ่มใน www.wehavekids.com หัวข้อ Why Children of Overprotective Parents Are Slated to Fail in Life เพราะเขียนไว้ยาวมากค่ะ
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com