#รักใครชอบใครอยากให้เขาผูกพันกับเรา
#ต้องหาเวลาเที่ยวหรือมีประสบการณ์ที่ดีร่วมกัน
ครูโรสไม่มีลูก
จึงรักหลานๆมาก
เมื่อต้นปีครูมีโอกาสเที่ยวกับหลานสองคน
คนหนึ่งสิบขวบ คนหนึ่งเจ็ดขวบ
เราไปดูเต่าปูลูซึ่งเป็นสัตว์หายาก
เด็กๆต้องเดินป่าเข้าไปประมาณสองกิโลเมตร
มีหมาท้องถิ่นเป็นมัคคุเทศก์
ทั้งสองคนมีปฏิกิริยาต่อการเดินป่าต่างกัน
มันคือการผจญภัยเล็กๆที่เด็กๆไม่ค่อยได้เจอ
เพราะเกิดและโตในกรุงเทพ
เด็กๆช่วยป้าจำทางเข้าทางออก
คอยดูแลกันและกัน
เต่าปูลูที่เจอก็ตัวกระจ้อยร่อยน่าสงสาร
แต่ก็ได้เห็นตัวจริงของเขาแล้ว
ออกจากป่ามาก็พูดคุยกันไม่หยุดตลอดทาง
มีคนบอกว่าเด็กๆจะเติบโตทางอารมณ์และทางจิตวิญญาณ
ถ้าได้พบเจอประสบการณ์ใหม่ๆ
เพราะประสบการณ์เป็นสิ่งล้ำค่าที่สร้างความสุขอันยั่งยืน
และเป็นหนึ่งในเบ้าหลอมให้แก่เด็ก
.......................................
วันก่อนครูโรสครูแอนจัดบ้าน
ถึงได้รู้ว่าบ้านรกไปด้วยของเล่นจำนวนมาก
มากจนเด็กๆเล่นไม่หวาดไม่ไหว
เพราะความรักลูกเนี่ยแหละ ของเล่นจึงมีเต็มบ้าน
จนเราไม่เห็นภัยของจำนวนสิ่งของที่มากเกินไป
ในประเทศพัฒนาแล้ว เด็กหนึ่งคนมีของเล่นเฉลี่ยถึง 200 ชิ้น
ทั้งที่เล่นจริงๆแค่ประมาณ 12 ชิ้น
#มีของเล่นมากเกินไปไม่ใช่เรื่องดี
เพราะทำให้เด็กมีความสนใจสั้นต่อของเล่นนั้น
เพราะมีของเล่นอื่นเป็นตัวเบี่ยงเบน
จึงทำให้เด็กเห็นคุณค่าของสิ่งของลดต่ำลงไปด้วย
ประกอบกับนักวิจัยคนหนึ่งเขาทดสอบมาแล้ว
พบว่าการใช้เงินซื้อสิ่งของ เปรียบเทียบกับการใช้เงินซื้อประสบการณ์
(money spent on having and money spent on doing)นั้น
ให้ความสุขต่างกัน
ความสุขจากสิ่งของนั้นชั่วประเดี๋ยวประด๋าว
มีระยะแห่งความพึงพอใจสั้น
และไม่ยั่งยืน
ส่วนความสุขที่ได้จากประสบการณ์นั้นมีความยั่งยืน
มีผลสามระยะ ทั้งความสุขที่เกิดขึ้นก่อนที่จะถึงประสบการณ์นั้นๆ
เช่นช่วงเวลาตื่นเต้นของเด็กๆก่อนไปเที่ยวสงกรานต์ตามที่พ่อแม่บอกไว้
ระยะที่สอง
คือความสุขที่เกิดขึ้นขณะกำลังได้รับประสบการณ์นั้น
ระยะที่สาม
คือความสุขที่ได้รับหลังจากจบประสบการณ์นั้นแล้ว
ยังคงประทับอยู่ในใจและกินเวลาเนิ่นนาน
.......................................................
#ถ้าเรามีเงินจำนวนหนึ่งสำหรับซื้อของเล่นให้ลูก
และพิจารณาว่าลูกมีของเล่นเยอะแล้ว
ลองเปลี่ยนเป็นซื้อประสบการณ์ให้ลูก
เพราะประสบการณ์นั้นจะอยู่ในความทรงจำของลูกตลอดไป
และมีเพียงเราพ่อแม่ที่จะเตรียมสิ่งเหล่านี้ให้ลูกได้
ทุกวันนี้ครูยังจำช่วงเวลาที่ครอบครัวไปเที่ยวทะเลด้วยกัน
เที่ยวสงกรานต์ด้วยกัน
ประสบการณ์ที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เงิน
การได้ทานข้าวเย็นร่วมโต๊ะกัน
การช่วยแม่ทำกับข้าว
ช่วยพ่อทำสวน
อ่านนิทานให้ลูกก่อนเข้านอน
ก็คือประสบการณ์ที่ดี
กิจกรรมที่ทำร่วมกันมักช่วยให้
-เกิดความผูกพันในครอบครัว
-เด็กมีปัญหาทางพฤติกรรมน้อยลง
-เด็กมีความเป็นตัวตนที่ชัดเจน
-เด็กรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
-เด็กมีผลการเรียนที่ดีกว่า
-เด็กมีความก้าวร้าวน้อยลง
ที่เขียนมาทั้งหมดไม่ได้ต่อต้านการมีของเล่น
เพราะของเล่นมีประโยชน์มาก
แต่ต่อต้านการมีของเล่นมากเกินไป
ถ้าเราเอาของเล่นที่มีเยอะเกินไปบริจาคให้เด็กที่ไม่มี
คงเป็นประโยชน์มาก
และลองเปลี่ยนแนวคิด ใช้งบของเล่นพาลูกไปมิวเซียม
พาลูกไปปลูกต้นไม้
พาลูกไปแต่งชุดไทยไปอยุธยา
หรือทำอะไรก็ได้ที่ไม่ต้องใช้เงิน
แต่เป็นประสบการณ์ที่ดีของเขา
ประสบการณ์ของเด็กเกิดจากผู้ใหญ่เป็นคนจัดให้
ดังเช่นตอนที่ครูตัดสินใจขับรถพาหลานๆขึ้นเขาไปดูเต่าปูลู
ตอนนั้นบ่ายมากแล้ว
ครูเคยดูเต่าปูลูแล้วและไม่อยากดูอีก
แต่เพราะหลานๆไม่เคยดู
และจะมีสักกี่ครั้งที่เราจะได้ใช้เวลาคุณภาพกับหลานๆ
ครูจึงตัดสินใจเลี้ยวขึ้นเขาไป
เพราะครูกับหลานจะได้มีประสบการณ์ที่ดีร่วมกัน
ครูได้เห็นหลานมีความสุข
ตั้งแต่ก่อนเจอเต่า
ระหว่างเจอเต่า
และหลังจากเจอเต่าแล้ว
และอย่างน้อยในความทรงจำของหลานเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น
เมื่อหลานๆนึกถึงเรื่องเต่าปูลู
จะมีป้าอยู่ในความทรงจำนั้นด้วย
#####################
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ยังไม่รู้จัก Bangkok Kids ว่าเราทำอะไร
เราเป็นโรงเรียนสอนว่ายน้ำเด็กทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงสิบขวบ
โดยยึดหลักจิตวิทยาในการสอนเพราะการบังคับฝืนใจลูกเรียนว่ายน้ำ
เป็นความเข้าใจผิดอย่างหนึ่งในสังคม และเราหวังว่า Bangkok Kids จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเข้าใจใหม่ที่ถูกต้องให้แก่การเรียนรู้ของเด็กๆ
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com
ขอบคุณเนื้อหาจาก wellnessmama.com เรื่อง Give Experiences Instead of Stuffs